ข้อมูล อบต.
ประวัติความเป็นมาเดิมตำบลลานตากฟ้า เป็นส่วนหนึ่งของตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐมเป็นตำบลที่มีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ ต่อมาจำนวนประชากรในพื้นที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นประกอบกับการที่เป็นตำบลที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ และเพื่อเป็นการรองรับการขยายตัวของประชากร จึงมีการแบ่งแยกตำบลขึ้นใหม่ เรียก ตำบลลานตากฟ้า
แต่เดิมนั้นชาวบ้านเรียกตำบลลานตากผ้า เนื่องจากในอดีตยังไม่มีถนน ประชาชนใช้เรือในการเดินทางสัญจร และติดต่อค้าขาย วันหนึ่งเกิดอุบัติเหตุเรือล่มบริเวณหน้าวัด หมู่ที่ 4 ชาวบ้านช่วยผู้ประสบเหตุ แล้วนำข้าวของและเสื้อผ้าเป็นจำนวนมากขึ้นมาตากที่ลานวัด ชาวบ้านจึงเรียกขานกันว่า "ลานตากผ้า"
แต่ต่อมาชาวบ้านเรียกขานกันไป เรียกขานกันมาจนกลายเป็น "ลานตากฟ้า" จนถึงปัจจุบัน
|
วิสัยทัศน์ ( Vision) องค์การบริหารส่วนตำบลลานตากฟ้า“พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งเสริมงานสาธารณสุขส่งเสริมงานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ขจัดทุกข์ทางปัญญา พัฒนาความเข้มแข็งชุมชน มุ่งสู่ประชาคมอาเซียน”
พันธกิจ (Mission) องค์การบริหารส่วนตำบลลานตากฟ้า1. พัฒนาระบบการศึกษาส่งเสริมสนับสนุนด้านการจัดการศึกษาเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2. ยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ และสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน 3. บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น 4. พัฒนากระบวนการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีและการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น 5. ปรับปรุงและพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ด้านสาธารณูปโภค/สาธารณูปการ และโครงสร้างพื้นฐาน |
|
สภาพทั่วไปและลักษณะภูมิประเทศองค์การบริหารส่วนตำบลลานตากฟ้า ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4 อยู่ห่างจากที่ทำการอำเภอนครชัยศรี ประมาณ 8 กิโลเมตร อยู่ห่างจากจังหวัดนครปฐม ประมาณ 20 กิโลเมตร มีพื้นที่ 18.78 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 12,000 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลข้างเคียง ดังนี้ ทิศเหนือ จดตำบลบางแก้วฟ้า อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จดตำบลห้วยพลู อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ทิศใต้ จดตำบลงิ้วราย อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ทิศตะวันออก จดตำบลคลองโยง อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม จดตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ทิศตะวันตก จดตำบลดอนแฝก อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จดตำบลวัดสำโรง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ภูมิประเทศ ตำบลลานตากฟ้า มีพื้นที่ 19.20 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 12,000 ไร่ สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม เหมาะสำหรับทำการเกษตรกรรม เนื่องด้วยเป็นที่สีเขียว มีน้ำอุดมสมบูรณ์ตลอดปี เพราะมีแม่น้ำนครชัยศรีไหลผ่าน ประกอบกับมีลำคลองจำนวนมาก ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร โดยเฉพาะการทำนา ซึ่งมีพื้นที่นาประมาณ 5,000 ไร่ อาชีพรองลงมาเป็นการทำสวน เช่น ฝรั่ง ชมพู่ ส้มโอ ขนุน มะม่วง และสวนผัก ฯลฯ การทำสวนกล้วยไม้ ไม้ดอกไม้ประดับ มีพื้นที่สวน ประมาณ 1,100 ไร่ และอาชีพการประมง เช่น การเลี้ยงกุ้ง และปลา เป็นจำนวนมาก เป็นต้น หมู่ที่ 1 บ้านคลองเจ็ก ชาวบ้านเล่ากันว่า ในสมัยก่อนนั้นไม่ทราบปี พ.ศ. ที่แน่ชัด มีชาวจีนอพยพมาจากเมืองจีนเข้ามาตั้งรกรากบริเวณพื้นที่หมู่ที่1 ตั้งแต่บริเวณปากคลองซอยล่าง (วัดมงคลประชาราม) จนถึงปากคลองซอยบน(วัดมะเกลือ)ซึ่งชาวจีนเหล่านี้ได้เข้ามาค้าขาย และขุดคลองเพื่อสัญจรในสมัยนั้น ดังนั้นชาวจีนเรียกแทนหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านคลองเจ็ก" พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม อาทิ ทำนา ทำสวนผัก ทำสวนดอกกล้วยไม้
อาณาเขต พื้นที่บางส่วนในบริเวณหมู่บ้านนี้ เป็นที่ดินของราชพัสดุ สหกรณ์คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จัดสรรให้ชาวบ้านทำมาหากิน และที่สำคัญมีทหารเข้ามาทำการซ้อมรบในพื้นที่ ชาวบ้านจึงเรียกว่า "บ้านลำทหาร"
อาณาเขต หมู่ที่ 3 บ้านลานตากฟ้า
แต่เดิมนั้นเขตพื้นที่หมู่3 เรียกกันว่า บ้านเหนือวัด เนื่องจากอยู่ทางเหนือของวัด แต่ในเวลาต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "บ้านลานตากผ้า" เนื่องจากเรือสินค้าสัญจรผ่านมาแล้วเกิดเรือล่มบริเวณหน้าวัด ทำให้สินค้าและเสื้อผ้าเปียกน้ำ ชาวบ้านจึงช่วยกันนำมาตากบริเวณหน้าวัด ผู้ที่สัญจรไปมาเห็นลานวัดมีแต่ผ้าตากอยู่เต็มบริเวณลานวัด จึงเรียกว่าลานตากผ้า แต่ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็นลานตากฟ้าตามชื่อปัจจุบัน พื้นที่ของหมู่4 และหมู่3 เป็นพื้นที่ราบลุ่ม ติดชายแม่น้ำมีวัดเป็นศูนย์กลาง จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านได้สร้างที่อยู่อาศัยเป็นชุมชน อยู่บริเวณรอบๆ วัด ตลอดริมแม่น้ำทั้งฝั่งเหนือและฝั่งใต้ จึงทำให้เรียกชื่อของชุมชนบ้านเหนือวัดและบ้านท้ายวัด ปัจจุบันบ้านเหนือวัดได้เปลี่ยนเป็นบ้านลานตากฟ้า ส่วนพื้นที่ของบ้านท้ายวัดคือหมู่ที่4 ในปัจจุบัน ลักษณะพื้นที่เป็นที่ดินเพื่อการเกษตร ประกอบอาชีพทำนา บ่อกุ้ง ทำสวน
อาณาเขต ชาวบ้านเล่ากันว่า พื้นที่ติดชายแม่น้ำนครชัยศรี ซึ่งมีจระเข้อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ชาวบ้านมีความกลัวเกรงกันมาก อีกทั้งมีศาลศักดิ์สิทธิ์เป็นที่นับถือของชาวบ้านแถบนี้มาก จึงเรียกขานหมู่บ้านนี้ว่า "บ้านบางเก็ง"
อาณาเขต |
การเมืองการปกครองลานตากฟ้า ได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลลานตากฟ้า ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 19 มกราคม 2539 โดยแบ่งเขตการปกครองเป็น 5 หมู่บ้าน (เต็มทั้งหมู่บ้าน) 1. หมู่ที่ 1 บ้านคลองเจ๊ก 2. หมู่ที่ 2 บ้านลำทหาร 3. หมู่ที่ 3 บ้านลานตากฟ้า 4. หมู่ที่ 4 บ้านท้ายวัด 5. หมู่ที่ 5 บ้านบางเก็ง |
สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมอาชีพ อาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ข้าว ชมพู่ ส้มโอ มะพร้าวน้ำหอม มะม่วง ฝรั่ง พันธุ์มะพร้าวน้ำหอม พันธุ์ส้มโอ อาชีพรอง คือ ค้าขาย และรับจ้างในโรงงงานอุตสาหกรรม ประชาชนส่วนใหญ่สามารถประกอบอาชีพในการเลี้ยงตนเอง และมีรายได้ค่อนข้างแน่นอน ผลิตภัณฑ์ OTOP ของตำบลลานตากฟ้า ได้แก่ 1. เสื้อยืดสีเหลือง ตราดอกไม้ของพ่อ 2. น้ำจิ้มสุกี้คุณสุธี ร้านค้าชุมชน จำนวน 1 แห่ง หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ปั๊มน้ำมันและก๊าซ จำนวน 2 แห่ง มวลชนจัดตั้ง อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 1 รุ่น 23 คน ใกลุ่มสตรี 1 กลุ่ม 30 คน กลุ่มออมทรัพย์ 1 กลุ่ม 54 คน |
สภาพทางการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 2 แห่ง โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 2 แห่ง ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน จำนวน 1 แห่ง ประชาชนส่วนใหญ่มีระดับการศึกษา และมีฐานะปานกลางสามารถส่งบุตรหลานศึกษาต่อในระดับมัธยม อาชีวศึกษา และอุดมศึกษาได้ สถาบันและองค์กรทางศาสนา วัด จำนวน 2 แห่ง ศาลเจ้า จำนวน 1 แห่ง |
การบริการพื้นที่ และทรัพยากรธรรมชาติการสาธารณสุข สถานีอนามัยประจำตำบล จำนวน 1 แห่ง อัตราการมีและมีใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ 100 การโทรคมนาคม ที่ทำการไปรษณีย์เอกชน จำนวน 1 แห่ง โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 20 แห่ง การไฟฟ้า อัตราการใช้ไฟฟ้าของหมู่บ้าน คิดเป็นอัตราร้อยละ 100 แหล่งน้ำธรรมชาติ แม่น้ำ จำนวน 1 สาย ลำคลอง จำนวน 17 สาย แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น หอถังน้ำประปา คสล. จำนวน 11 แห่ง |
• วัฒนธรรมองค์กร
• มาตรฐานการให้บริการ
• มาตรฐานการปฏิบัติงาน
• การให้บริการ
• คู่มือการให้บริการ
• มาตรฐานการให้บริการ
• สถิติการให้บริการ
• ผลสำรวจความพึงพอใจในการให้บริการ